โปรแกรมคอมพิวเตอร์
สามารถจัดแบ่งออกได้เป็น 3 ประภทคือ
  1. โปรแกรมระบบปฏิบัติการ
  2. โปรแกรมประยุกต์ใช้งาน
  3. โปรแกรมอัตถประโยชน์

ระบบปฏิบัติการ

ระบบปฏิบัติการหรือ OS(Operating System) นี้อาจจะเป็นได้ทั้งซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ หรือ เฟิร์มแวร์ (firmware) หรือผสมผสานกันก็ได้ โดยเป้าหมายการทำงานของ OS คือสามารถช่วยให้ผู้ใช้สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ได้
ซอฟต์แวร์ OS จะหมายถึง OS ที่เป็นโปรแกรมควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งบริษัทผู้สร้างเครื่องคอมพิวเตอร์เขียนเป็นโปรแกรมการทำงานไว้ให้เรียบร้อยแล้ว หรืออาจจะบรรจุมาให้ในแผ่น Disk หรือ CD หรือหน่วยความจำสำรองอื่น ๆ
ฮาร์ดแวร์ OS ก็มีหน้าที่เช่นเดียวกัน แต่จะถูกออกแบบมาในรูปของวงจรการทำงาน เหตุผลในการสร้างฮาร์ดแวร์ OS ก็เพราะมันสามารถทำงานได้เร็วกว่าซอฟต์แวร์ OS
แต่ฮาร์ดแวร์ OS ก็มีข้อเสียคือ การปรับปรุงแก้ไข OS นั้นยุ่งยาก ดังนั้น OS ทั่วไปจะเป็นซอฟต์แวร์ OS
เฟิร์มแวร์ (firmware) OS หมายถึงส่วนของโปรแกรมที่เก็บไว้เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรมเหล่านี้เรียกว่า ไมโครโปรแกรม (micro program) แต่ละโปรแกรมประกอบขึ้นจากคำสั่งหลาย ๆ คำสั่ง คำสั่งเหล่านี้เรียกว่า คำสั่งไมโคร (micro instruction) ซึ่งเป็นชุดคำสั่งในระดับที่ต่ำที่สุดของระบบคอมพิวเตอร์มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของซีพียูในทุก ๆ ขั้นตอน เฟิร์มแวร์ OS นั้นมีความเร็วสูงกว่า ซอฟต์แวร์ OS แต่ยังช้ากว่า ฮาร์ดแวร์ OS

หน้าที่ของ OS
ตัว OS ถูกสร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์หลักก็คือ อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ในลักษณะที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องทราบกลไกการทำงานหรือฮาร์ดแวร์ของระบบ เราจึงแบ่งหน้าที่หลักของ OS ได้ดังนี้

  1. ติดต่อกับผู้ใช้ (User interface)
  2. การจัดสรรทรัพยากรต่าง ๆ ในระบบ
ประเภทซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ
สามารถแบ่ง OS ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
  1. OS สำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ไมโครคอมพิวเตอร์แต่ละประเภทจะมีระบบปฏิบัติการเป็นของตนเอง เช่น เครื่องไอบีเอ็มพีซี และ ไอบีเอ็มคอมแพททิเบิล จะเป็นเครื่องที่ใช้ระบบปฏิบัติการ DOS วินโดวส์ วินโดวส์95 โอเอสทู วินโดวส์NT หรือ ยูนิกส์ แต่ถ้าเป็นเครื่องแอปเปิลแมคอินทอช จะใช้ระบบปฏิบัติการที่เรียกว่า แมคอินทอชโอเอส การที่มีระบบปฏิบัติการต่างกันนี้ ก็เนื่องมาจากเครื่องแต่ละประเภทจะมีโครงสร้างทางฮาร์ดแวร์ที่ต่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกแบบซีพียู
    DOS (Disk Operating System) เป็นระบบปฏิบัติการบนเครื่องพีซี ดอสเป็นโอเอสที่มีลักษณะการทำงานแบบงานเดียว (single task) แมคอินทอชโอเอส (Macintosh Operating System)
    วินโดวส์(Windows) ตั้งแต่ วินโดวส์95 ถือว่าเป็นระบบปฏิบัติการอย่างแท้จริงเนื่องจากไม่ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของดอส
    โอเอสทู (OS/2) เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้สำหรับเครื่องไอบีเอ็มและไอบีเอ็มคอมแพททิเบิล ะมีลักษณะเป็น GUI
    วินโดวส์เอ็นที (Windows NT) เป็นระบบปฏิบัติการอย่างแท้จริงถูกออกแบบมาให้สนับสนุนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่
    ยูนิกส์ (Unix) เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับผู้ใช้หลายคนและสนับสนุนการทำงานหลายแบบที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถรันงานได้มากกว่าหนึ่งงานในเวลาเดียวกัน เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาขึ้นด้วยภาษาซีจึงไม่ยึดติดอยู่กับฮาร์ดแวร์
    เน็ตแวร์ (Net Ware) เป็นระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่นิยมมากในเครือข่ายแลน ถูกพัฒนาโดยบริษัทโนเวลล์
  2. โอเอสสำหรับเครื่องขนาดใหญ่
    เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานซีพียูให้คุ้มค่าจึงได้คิดวิธีระบบการทำงานแบบใหม่ที่เรียกว่า มัลติโปรแกรมมิง ที่ผู้ใช้สามารถส่งงานหรือโปรแกรมเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ให้ซีพียูทำการประมวลผลโปรแกรมหลายโปรแกรมนั้นพร้อมๆ กันได้ ตัวอย่างสำหรับโอเอสในปัจจุบันได้แก่ ยูนิกส์,MVS, VM , TSO และ CMS